วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

อาการ "เอาการ "เสพติดโทรศัพท์มือถือ" ปัญหาใหญ่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัล!
ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าในยุคสังคมก้มหน้าขณะนี้ เทคโนโลยีการสื่อสารได้ตามติดตัวเราไปทุกที่ซึ่งทำให้เกิดความผูกพันถึงขั้นการติดโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์แท็บเลต หรืออุปกรณ์อื่นๆ นั้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพของเรา ตั้งแต่ชั่วโมงการนอนหลับที่ไม่เพียงพอ ไปจนถึงความวิตกกังวลและปัญหาซึมเศร้า
istock-505839618www.istockphoto.com

ผลการสำรวจหลายชิ้นทำให้พบว่า ตัวเลขของผู้ที่มีอาการติดเทคโนโลยีและตัดไม่ขาดจากอุปกรณ์มือถือนั้น มีอยู่ราว 1 - 6% และปัญหาดังกล่าวเริ่มเป็นที่สนใจของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ เช่น Google และ Apple

รวมทั้งฝรั่งเศสเองก็ได้ออกมาตรการห้ามส่งอีเมลหลังเลิกงาน และกำลังออกกฎหมายห้ามนักเรียนนักศึกษาใช้โทรศัพท์มือถือในพื้นที่ของโรงเรียนด้วย

คุณ Tanya Goodin ผู้เขียนหนังสือชื่อ "Off: Your Digital Detox for a Better Life" กล่าวว่าขณะนี้เราได้เห็นสิ่งที่เรียกว่า digital babysitting คือการที่พ่อแม่ผู้ปกครองยอมให้บุตรหลานของตนใช้อุปกรณ์มือถือเร็วกว่าสมัยก่อนมาก

อย่างไรก็ตาม เรื่องของการติดอุปกรณ์มือถืออย่างแยกไม่ออกนี้ จะกล่าวโทษเด็กวัยรุ่นหรือคนยุคเจนเนอเรชั่น Y ฝ่ายเดียวคงไม่ได้ เพราะผลการสำรวจของ Pew Research Center เมื่อไม่นานมานี้ ระบุว่า ขณะที่ราวสองในสามของพ่อแม่ผู้ปกครอง บ่นว่า เวลาที่ลูกหลานของตนใช้หรือติดโทรศัพท์มือถือนั้นมีมากเกินไป

แต่กว่าครึ่งของเด็กวัยรุ่นก็บอกเช่นกันว่า บ่อยครั้งที่พ่อแม่ดูจะสนใจให้เวลากับโทรศัพท์มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่ตนอยากจะสนทนาหารือกับพ่อแม่เช่นกัน

อียูจะเริ่มใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ตรวจคนข้ามชายเเดน

อียูจะเริ่มใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ตรวจคนข้ามชายเเดน
VOA
สนับสนุนเนื้อหา
หากคุณเดินทางข้ามชายแดนระหว่างประเทศต่างๆ ในเขตเชงเกนของยุโรปในอนาคต คุณอาจต้องตอบคำถามต่างๆ ที่ถามโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง


อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิทยาศาสตร์ในอังกฤษบอกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างจากเจ้าหน้าที่มนุษย์ตรงที่สามารถจับโกหกได้ดีกว่า
คีลลี่ย์ คร็อคเก็ทท์ (Keeley Crockett) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ เมโทรโพลิเเทน (Manchester Metropolitan) กล่าวว่า โปรแกรมนี้จับผิดคนจากพฤติกรรมที่แสดงออกทางใบหน้า โดยจะตรวจจับดูอากัปกริยาที่แสดงออก เช่น สายตาที่มองดูขวามองซ้าย แต่จะไม่ดูว่ากำลังยิ้มหรือกำลังขมวดใบหน้า
Advertisement
คร็อคเก็ทท์ ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยี AI ช่วยพัฒนาโปรแกรมตรวจคนข้ามชายเเดนนี้ที่เรียกว่า i-Border-Control นี้ กล่าวว่า โปรแกรมดังกล่าวสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงทางสีหน้าได้ 38 รูปแบบภายในเวลาสั้นๆ สามารถวิเคราะห์น้ำเสียง ตรวจข้อมูลไบโอเมตริกที่รวมถึงเส้นเลือดบนฝ่ามือหรือลายนิ้วมือ
งานตรวจตราคนเข้าเมืองตามแนวชายเเดนได้กลายเป็นประเด็นร้อนทั่วยุโรป ขณะที่มีคนอพยพเข้าเมืองหลายหมื่นคน ส่วนมากมาจากแอฟริกาเเละตะวันออกกลางพยายามเดินทางเข้าไปในยุโรป
ในปี 2015 ฮังการีได้สร้างรั้วลวดหนามติดใบมีดโกน หลังเกิดการปะทะที่ชายเเดนที่ติดกับเซอร์เบีย
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ตรวจคนข้ามชายเเดนนี้จะไม่นำไปใช้ทดแทนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยชายเเดนที่เป็นมนุษย์
คร็อคเก็ทท์ กล่าวว่า โปรแกรมตรวจคนข้ามชายแดน i-Border-Control นี้ไม่สามารถตัดสินใจได้อัตโนมัติ แต่จะประเมินความเสี่ยงออกมาเป็นคะเเนนสำหรับนักเดินทางข้ามชายแดนเเต่ละคน
โปรแกรมตรวจคนข้ามชายแดนนำร่องนี้ได้รับเงินสนับสนุนโดยโครงการ Horizon 2020 ของสหภาพยุโรป

(เรียงเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กุญเเจรถระบบ keyless












จากยุคที่รถยนต์ทุกคันต้องใช้กุญแจเสียบเพื่อเปิดประตูรถและสตาร์ทเครื่อง รวมไปถึงใช้ไขเปิดฝาถังน้ำมันเชื้อเพลง มาในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีเรื่องกุญแจพัฒนาไปไกลมากจริงๆ โดยเฉพาะระบบ Keyless ที่คุณไม่จำเป็นที่จะต้องใช้กุญแจทั้งการสตาร์ท กระทั่งการกดรีโมทเพื่อเปิดรถ
     เนื่องจาก Keyless ในรถรุ่นใหม่ๆ เพียงแค่คุณพกมันไว้ในกระเป๋า แล้วใช้มือสัมผัสไปที่ที่จับเปิดประตู เซ็นทรัลล็อคก็จะทำการเปิดให้แบบอัตโนมัติ มันสะดวกมากมายกับคนที่ถือของพะรุงพะรังแล้วต้องรีบขึ้นรถ คุณไม่ต้องที่จะละมือลงไปล้วงกระเป๋าหากุญแจหรือรีโมทอีกต่อไป นี่แหละอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกให้คนใช้รถยุคนี้ตัวจริง
ระบบเบรก ABS